หมวดที่ 1
ความทั่วไป
ข้อ 1 สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมประสาทการนอนหลับ” โดยมีอักษรย่อว่า สปน.
มีชื่อภาษาอังกฤษ “Sleep Neurology Association”โดยมีอักษรย่อว่า SNA.
ข้อ 2 เครื่องหมายของสมาคมฯ เป็นรูป
ความหมาย
- รูปคนนอนที่ออกแบบหลากสี สื่อถึงการรวมตัวหรือการต่อตั้งสมาคมประสาทการนอนหลับที่เกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ
- การรวมตัวของรูปสื่อถึงสิ่งผิดปกติในการนอนหลับ
ข้อ 3 สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย อาคารเฉลิมพระ
บารมี 50 ปี เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
1) สนับสนุนการศึกษา และการฝึกอบรม รวมทั้งเผยแพร่วิทยาการเกี่ยวกับความผิดปกติจากการ
นอนหลับทางระบบประสาท และความผิดปกติจากการนอนหลับอื่นๆ และ/หรือวิทยาการที่
มีความเกี่ยวข้องกันให้ก้าวหน้าและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
2) ส่งเสริมความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกันในระหว่างสมาชิก
3) ส่งเสริมการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
4) ช่วยเหลือแนะนำให้ความรู้หรือคำบรรยายแก่ประชาชนรวมทั้งสนับสนุนการวิเคราะห์หรือวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับโรคการนอนหลับที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทและการนอนหลับผิดปกติอื่นๆ
5) เป็นสื่อกลางประสานการติดต่อ ร่วมมือกับสถาบัน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องทั้ง
ในและต่างประเทศ
6) ดำเนินการอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองแต่
อย่างใด
7) สนับสนุนการฝึกอบรมแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยาการนอนหลับ
8) สนับสนุนการร่างหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการนอนหลับโดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติทางด้านประสาทวิทยา โดยทำงานร่วมมือภายใต้ราชวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมนั้น
หมวดที่ 2
สมาชิก
ข้อ5 สมาชิกของสมาคมมี 2 ประเภท คือ
5.1สมาชิกสามัญ ได้แก่ แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.2 สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่มีวิชาชีพทางการแพทย์ ซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์และสมัครเข้าเป็นสมาชิกตามระเบียบข้อบังคับของสมาคม
5.3สมาชิกกิตติมศักดิ์ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณต่อสมาคม
ซึ่งคณะกรรมการบริหารของสมาคม มีมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคม
ข้อ6 สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว
- เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
- ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
- ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือน
ไร้ความสามารถหรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษการต้องคำพิพากษา ของศาลถึงที่สุด ในกรณีดังกล่าวจะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในระหว่างที่เป็น สมาชิกของสมาคมเท่านั้น
ข้อ7 ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม
7.1 สมาชิกสามัญ จะต้องเสียค่าลงทะเบียนเป็นครั้งแรก 200 บาท
ค่าบำรุงสมาคมเป็นรายเดือน ๆ ละ…………………………..-…….. บาท
หรือค่าบำรุงเป็นรายปี ๆ ละ……………………………………-…….. บาท
7.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ข้อ 8 การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการ โดยมีสมาชิกสามัญรับรองอย่างน้อย 1 คน และให้เลขานุการติดประกาศรายชื่อผู้สมัครไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน เพื่อให้สมาชิก อื่นๆ ของสมาคมจะได้คัดค้านการสมัครนั้นเมื่อครบกำหนดประกาศแล้วก็ให้เลขานุการนำใบสมัคร และหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่าจะรับ หรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาการสมัครแล้ว ผลเป็นประการใด ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว
ข้อ9 ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชำระเงินค่าลงทะเบียน
และค่าบำรุงสมาคม ให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการ และสมาชิกภาพของผู้สมัครให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงภายในกำหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก ข้อ 10สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการ ได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ได้มาถึงยังสมาคม
ข้อ 10 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้ผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมมีหนังสือตอบรับคำเชิญของคณะกรรมการ ทั้งนี้การเป็นสมาชิกให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้รับเชิญได้มาถึงสมาคม
ข้อ11 สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้
11.1 ตาย
11.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้
พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย
11.3 ขาดคุณสมบัติสมาชิก
11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม หรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียน
เพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม
ข้อ12 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
12.1 มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
12.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
12.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคมและมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง
12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
12.7 มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดร้องขอต่อคณะกรรมการ
ให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
12.8 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคม
12.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
หมวดที่ 3
การดำเนินการสมาคม
ข้อ ๑๓. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนอย่างน้อย ๙ คน อย่างมากไม่เกิน ๑๕ คน โดยคณะกรรมการ ๙ คนได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม และหากมีกรรมการเพิ่มกว่านี้ จะมาจากการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสมาคม คณะกรรมการที่ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม เลือกตั้งกันเองเป็นนายกสมาคม ๑ คน อุปนายก ๒ คน และตำแหน่งอื่นๆตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ซึ่งตำแหน่งของกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้
13.1 นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
13.2อุปนายก ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม
ปฏิบัติตามหน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำการแทน
13.3เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมดเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคมและปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคมตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขาธิการ ในการประชุมต่างๆ ของสมาคม
13.4เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคมเป็นผู้จัดทำบัญชี
รายรับรายจ่าย บัญชีงบดุลของสมาคมและเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
13.5ปฏิคม มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคมและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆ ของสมาคม
13.6 นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก
13.7ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิกและบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
13.8 กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
ข้อ 14 คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 2 ปี นับจากวันเลือกตั้งที่ประชุมใหญ่และเมื่อคณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการ ก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการ ชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้น ภายใน 30วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับการจดทะเบียนจากทางราชการ
ข้อ 15 ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น และถ้าเป็นตำแหน่งนายกสมาคมว่างก็ให้คณะกรรมการเลือกกันเองเป็นนายกสมาคม
ข้อ16 กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ
16.1 ตาย
16.2 ลาออก
16.3 ขาดจากสมาชิกภาพตามข้อบังคับและตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
16.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง
16.5 เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสียและคณะกรรมการสมาคมมีมติให้ออก
โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการของสมาคม
ข้อ17 กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ
คณะกรรมการและคณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อ18 อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
18.1 มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัด
ต่อข้อบังคับฉบับนี้
18.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
18.3 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรือ
อนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
18.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
18.5 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
18.6 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ
ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
18.7 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงินและทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
18.8 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญ จำนวน 1 ใน 3 ของสมาชิก
ทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
18.9 มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
18.10จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิก
ได้รับทราบ
18.11มีหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
ข้อ 19 คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อย 3 เดือนครั้ง โดยให้จัดขึ้นภายอาทิตย์ที่ 2 หรือ 3 ของทุกๆ เดือน ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อ 20 การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุมมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ21 ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ 4
การประชุมใหญ่
ข้อ22 การประชุมใหญ่ของสมาคมมี 2ชนิด คือ
22.1 การประชุมใหญ่สามัญ
22.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ 23 คณะกรรมการจะต้องจัดให้การประชุมใหญ่สามัญประจำปีๆ ละ 1ครั้งไม่เกินเดือนธันวาคมของ
ทุกๆปี
ข้อ24 การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการของสมาคมให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้ ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามวรรคแรก ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ ถ้าคณะกรรมการของสมาคมไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลาตามวรรคสอง สมาชิกที่เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนสมาชิกที่กำหนดตามวรรคแรกจะเรียกประชุมเองก็ได้
ข้อ25 การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลาและสถานที่ให้ชัดเจน โดยจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และประกาศแจ้งกำหนดนัดประชุมไว้ ณ สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกำหนดประชุมใหญ่หรือลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันก็ได้
ข้อ26 การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
26.1 แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
26.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
26.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ
26.4 เลือกตั้งผู้สอบบัญชี
26.5 ตรวจสอบทะเบียนสมาชิกให้เป็นปัจจุบัน
26.6 เรื่องอื่นๆ ถ้ามี
ข้อ27 การประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่า 30 คน จึงจะครบองค์ประชุมหากถึงกำหนดเวลาการประชุมแล้วสมาชิกยังไม่ครบองค์ประชุมถ้าการประชุมใหญ่ครั้งนั้นเป็นการประชุมใหญ่ตามคำเรียกร้องของสมาชิกก็ให้งดการประชุมแต่ถ้าเป็นกรณีการประชุมใหญ่ที่คณะกรรมการสมาคมเป็นผู้เรียกประชุม ก็ให้เรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรกการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
ข้อ 28 การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือคะแนนเสียงข้าง
มากเป็นเกณฑ์แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากันก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ29 ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุมหรือไม่
สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
หมวดที่ 5
การเงินและทรัพย์สิน
ข้อ 30 การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ถ้ามีเงินสดของสมาคมฯให้นำฝากไว้ในธนาคารในบัญชีชื่อ “สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย เพื่อชมรมการนอนหลับผิดปกติ”
ข้อ31 การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคมจะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน
ลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขาธิการพร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้ได้
ข้อ 32 ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน20,000บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)
ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้
ข้อ 33 ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวยให้
ข้อ34 เหรัญญิก จะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายและบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการการรับ
หรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน
ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อ 35 ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อ 36 ผู้สอบบัญชี มีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการและ
สามารถจะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของ
สมาคมได้
ข้อ37 คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ
หมวดที่6
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม
ข้อ38 ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2ใน 3ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ 39 การเลิกสมาคมจะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของ
กฎหมายมติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า3ใน 4ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด
ข้อ 40 เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชี
เป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ตกเป็นของ“มูลนิธิเพื่อโรคระบบประสาท”ซึ่งมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงหรือการกุศลอื่นๆ ตามแต่ที่ประชุมใหญ่จะเห็นสมควร
หมวดที่ 7
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ 41 การตีความข้อบังคับของสมาคม หากเป็นที่สงสัยให้ที่ประชุมใหญ่โดยเสียงข้างมากของที่ประชุม
ชี้ขาด
ข้อ 42 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคมมาใช้บังคับ ในเมื่อข้อบังคับ
ของสมาคมมิได้กำหนดไว้ และหากมีข้อบังคับใดขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ให้ถือ
ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ 43 สมาคมต้องไม่ดำเนินการหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน หรือเพื่อบุคคลใดนอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคมเอง
หมวดที่ 8
บทเฉพาะกาล
ข้อ44 ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป
ข้อ45 เมื่อสมาคมได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการ ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมดเป็นสมาชิกสามัญและสมาชิกภาพของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เริ่มตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป
(ลงชื่อ) ……………………………………………… ผู้จัดทำข้อบังคับ
(พอ.(พิเศษ)ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์